วันเสาร์ที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
0 ความคิดเห็น

ปรับโครงสร้างหนี้ รถยนต์นั้นมีข้อดี ข้อเสียอย่างไร

กุมภาพันธ์ 11, 2566




มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ชอบซื้อรถยนต์แบบเงินผ่อน เรียกได้ว่าเกินร้อยละ 80 ทีเดียว ทั้งนี้อาจเป็นด้วยสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดีหรือผู้ซื้อไม่มีกำไรมากพอหรือมีมากพอแต่ไม่ต้องการจ่ายเงินก้อน การเลือกซื้อแบบผ่อนก็ดูจะเซฟกับเงินในกระเป๋าตัวเองที่สุด เพราะรถยนต์ก็ไม่ได้ราคาบาทสองบาท ราคาคันหนึ่งก็เป็นแสนเป็นล้าน และการผ่อนก็ถือเป็นการเพิ่มโอกาสเวลาในการที่จะหาเงินมาชำระเป็นงวด หรือเลี่ยงที่จะจ่ายเงินเป็นก้อนเพื่อจะได้นำเงินก้อนนั้นไปทำอย่างอื่นที่มีผลตอบแทนคุ้มกว่ากลับมา

  • การชำระเงินเพื่อผ่อนรถยนต์ของแต่ละคนอาจแตกต่างกันไป เช่น 3 ปี 5 ปี หรือ10 ปี ซึ่งเงินที่ส่งละแต่ละงวดจะมากจะน้อยก็แปรผันด้วยยอดเงินใช้ดาว์น จำนวนงวดที่ผ่อนชำระรวมจำนวนดอกเบี้ย แต่เชื่อไหมว่าต่อให้การผ่อนดูเป็นการเพิ่มความปลอดภัยในการเงินมากแค่ไหน เพราะดูเหมือนว่าจะมีเวลาเป็นเดือนให้หาเงินมาส่งแต่ละงวด แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยที่ต้องประสบปัญหาสภาวะฉุกเฉินทางการเงิน บางคนก็เกิดขึ้นแบบไม่ทันตั้งตัว เช่น ตกงาน ขายของไม่ได้กำไร หรืออื่น ๆ ซึ่งเป็นผลให้การผ่อนรถยนต์ต้องหยุดชะงัก จนต้องสรรหาสารพัดวิธีมาแก้ ซึ่งวิธีที่มักนิยมใช้อันดับต้น ๆ เลยคือการขายรถยนต์ทิ้ง ปล่อยไฟแนนซ์รถยนต์ และก็ขอไปปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์นั้นทำให้ไม่ต้องเสียรถยนต์และจำนวนเงินที่ผ่อนหรือดาว์นไปก่อนหน้านี้ หากใครกำลังตัดสินใจจะปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ ลองมาพิจารณาข้อดีข้อเสียเหล่านี้ดูก่อนไหม แล้วค่อยตัดสินใจ

  • สำหรับการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์นั้น ต้องบอกก่อนว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียที่ต้องพิจารณาให้ถี่ถ้วนก่อนการตัดสินใจ โดยขอเริ่มต้นที่ข้อดีก่อนเลย สำหรับข้อดี แน่นอนว่าการปรับโครงสร้างหนี้คือคุณสามารถยืดระยะเวลาในการชำระหนี้งวดนั้น ๆ ออกไปได้ เพราะบางคนเป็นสภาวะฉุกเฉิน ดังนั้น จึงเหมือนขายผ้าเอาหน้ารอดเดือนนั้น ๆ ไปก่อน นอกจากนั้นสำหรับบางรายเมื่อนำมาคำนวณยอดเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ อาจทำให้ยอดส่งต่องวดลดลงกว่าเดิม ยิ่งเป็นกรณีคนที่งวดการส่งเหลือจำนวนไม่มาก เช่น ต้องผ่อนหกปีแต่ผ่อนมาแล้วสี่ปี เหลืออีกสองปี เป็นต้น นอกจากนั้นอีกประการสำคัญที่มักมาล่อใจให้คนนิยมไปปรับโครงสร้างหนี้คือมักจะมีเงินก้อนให้มาใช้ด้วยเสมอ เห็นข้อดีไปแล้ว หลาย ๆ คนก็รีบตัดสินใจรีบไปปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ แต่ต้องบอกว่าอย่าเพิ่ง !! ลองอ่านข้อเสียกันก่อน แล้วพิจารณาว่ายอมรับได้ไหม คิดจะปรับโครงสร้างหนี้ต้องเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียให้ดีก่อน เพราะไม่ศึกษาแทนที่หนี้จะลดปรากฎว่าหนี้เพิ่มมากกว่าเดิม

  • สำหรับข้อเสียของการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ อย่างแรกและหลักเลยคือ ดอกเบี้ยที่เสียจะเหมือนทบแล้วทบอีก ซึ่งดอกเบี้ยที่ว่าทบแล้วทบอีกก็มาจากการต้องถูกคำนวณเป็นเงินต้นใหม่และเงินต้นที่ว่าก็มาจากการนำยอดหนี้เดิมแล้วบวกด้วยดอกเบี้ยเดิมแล้วบวกค่าปรับและค่าทวงถาม ซึ่งยอดรวมทั้งหมดจะถูกคิดเป็นเงินต้น อันนี้ต้องย้ำว่าเป็นเงินต้น เห็นไหมว่าจากดอกเบี้ยเดิมก็กลายเป็นเงินต้นไปเสียแล้ว ซึ่งหากมองจริง ๆ อันนี้ดูจะเป็นประโยชน์สำหรับเจ้าหนี้เพราะเป็นการต่อยอดหนี้ของลูกหนี้ออกไปอีก เช่น เดิมค่ารถยนต์พร้อมดอกเบี้ยของคือ 1 ล้านบาท แต่ผ่อนไปแล้ว 5 แสนและผ่อนต่อไม่ไหวหรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้น จึงขอปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งการปรับโครงสร้างหนี้ก็จะนำ 5 แสนที่เหลือมาบวกค่าปรับและค่าทวงถาม แล้วนำมาคำนวณดอกเบี้ยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งแน่นอนว่าดอกเบี้ยก็จะถูกคิดอีกครั้ง เหมือนที่บอกว่าทบแล้วทบอีก คิดง่าย ๆ ถ้าซื้อรถยนต์ด้วยเงินสดในราคา 5 แสนบาท แต่ถ้าเลือกผ่อนชำระจะโดนดอกเบี้ยไปประมาณ 1-2 แสนบาท หากปรับโครงสร้างหนี้อาจซื้อรถยนต์ในราคาหนึ่งล้านบาท ฉะนั้นต้องคำนวณความคุ้มค่าให้ดี โป๊ะได้ก็รีบโป๊ะเพื่อลดต้นลถดอก


นอกจากนั้นแล้วการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์ถือเป็นการทำสัญญาฉบับใหม่ โดยตอนทำสัญญาใหม่อาจยังจ่ายไหว แต่สักระยะหนึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเข้าภาวะแบบเดิมคือไม่มีเงินมาชำระ ดังนั้นสัญญาฉบับใหม่จะถูกนำไปส่งฟ้องโดยเจ้าหนี้แทนฉบับเก่า ซึ่งยอดเงินที่ถูกฟ้องก็จะเท่ากับว่าเป็นยอดใหม่ ซึ่งถูกทบด้วยดอกเบี้ยแล้วดอกเบี้ยอีก และทำให้พอถึงตอนถูกฟ้องลูกหนี้ก็จะไม่มีทางขอประนีประนอมได้เลย เพราะเคยขอปรับโครงสร้างหนี้มาแล้วครั้งหนึ่ง และอาจทำได้แค่ไกล่เกลี่ยเท่านั้น แน่นอนว่าท้ายที่สุด หากไม่สามารถชำระได้ผลท้ายที่สุดก็คือโดนยึดทรัพย์หรือขายทรัพย์อื่น ๆ ที่มีเพื่อนำมาชำระจนครบจำนวน รวมถึงโดนยึดรถยนต์ที่ผ่อนชำระมาเนิ่นนาน แถมยังติดเครดิตบูโรอีก




ยังไงก็ลองนั่งทบทวนดีว่าการปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์มีข้อดีที่ชอบหรือข้อเสียที่ยอมรับได้มากน้อยแค่ไหน และประเมินตัวเองด้วยว่าพร้อมที่จะส่งต่อไปหรือไม่ เพราะบางคนปรับโครงสร้างหนี้รถยนต์มาแล้วก็ไปต่อไม่ไหวเหมือนเดิม ..แต่บางคนปรับโครงสร้างมาแล้วดีกว่าเดิมก็มี

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

 
Toggle Footer
Top